top of page
ค้นหา
รูปภาพนักเขียนData Investigator Team

5 เคล็ดลับเขียนคำถามการวิจัยและสมมติฐานการวิจัยแบบมือโปร


ขั้นตอนการทำการวิจัย
ขั้นตอนการทำการวิจัย

คำถามการวิจัยและสมมติฐานการวิจัยนับว่าเป็นส่วนประกอบที่สำคัญอย่างยิ่งในการทำวิจัย ไม่ว่าจะเป็นงานวิจัยเพื่อการศึกษาอย่างเช่นการทำ Dissertation การทำวิทยานิพนธ์ หรืองานวิจัยเพื่อการแพทย์หรือพัฒนาธุรกิจต่างๆ ส่วนประกอบเหล่านี้ทำหน้าที่เปรียบเสมือนไกด์ไลน์สำหรับการวางแผนทำการวิจัยและเป็นตัวช่วยกำหนดทิศทางของงานวิจัยนั้นๆ การเขียนคิดถามการวิจัยและสมมติฐานการวิจัยที่มีประสิทธิภาพถือได้ว่าเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อคุณภาพของงานวิจัย และวันนี้เราจะมาแชร์เคล็ดลับดีๆ ที่สามารถนำไปใช้เพื่อพัฒนางานวิจัยของคุณได้กันค่ะ


เคล็ดลับที่ 1: เริ่มต้นด้วยภาพใหญ่


เริ่มกันที่เคล็ดลับแรกคือการเริ่มต้นด้วยภาพใหญ่เกี่ยวกับปัจจัยต่างๆ ที่คุณมีความสนใจที่จะศึกษา เพิ่มเติม และค่อยๆ กรองปัจจัยเหล่านั้นให้เล็กลงเพื่อนำไปเป็นคำถามการวิจัยและสมมติฐานการวิจัย การเริ่มต้นด้วยภาพใหญ่ก่อนมักจะช่วยให้คุณเข้าใจปัจจัยนั้นๆ ในภาพรวมมากขึ้นและการกรอง ปัจจัยเหล่านั้นให้แคบลงจะมีส่วนช่วย


เคล็ดลับที่ 2: ศึกษาบททบทวนวรรณกรรม (Literature Review)


หลังจากที่เราทราบเกี่ยวกับปัจจัยที่แคบมากพอ และมีความเจาะจงมากพอที่เราต้องการศึกษาแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการศึกษาและทบทวนวรรณกรรมหรือการศึกษางานวิจัยที่มีมาอยู่ก่อนแล้ว ทั้งนี้ เพื่อที่เราจะได้ทราบว่ามีคำถามการวิจัย และสมมติฐานการวิจัยใดบ้างที่ได้รับการศึกษาไปแล้วและ ปัจจัยใดที่ยังไม่ได้มีการศึกษา นอกจากนี้การศึกษาและทบทวนวรรณกรรมยังสามารถช่วยให้คุณ สามารถเรียนรู้และทราบถึงทฤษฎี และคอนเซปส์ที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยที่คุณศึกษาเพื่อนำไปพัฒนา กรอบแนวคิดทางการวิจัยที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น


เคล็ดลับที่ 3: ใช้ภาษาที่แสดงถึงความเฉพาะเจาะจงมากขึ้น


เคล็ดลับต่อไปที่เราต้องการแนะนำคือการใช้ภาษาที่แสดงความเฉพาะเจาะจงซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาการวิจัย ผู้วิจัยควรใช้ภาษาที่มีความชัดเจนและเฉพาะเจาะจงที่ง่ายต่อการทำ ความเข้าใจ ควรหลีกเลี่ยงคำที่มีความกำกวมและไม่ชัดเจนที่อาจทำให้เกิดความสับสนหรือความ เข้าใจผิดได้ นอกจากนี้ควรตีกรอบกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการทำวิจัยให้ชัดเจนมากขึ้น สามารถศึกษา ได้จากตัวอย่างด้านล่างนี้


ตัวอย่างคำถามการวิจัยที่ดี

  • ศึกษาผลกระทบของการใช้สื่อโซเซียลมีเดียต่อสุขภาพจิตในกลุ่มเด็กวัยรุ่นในประเทศอเมริกา

  • ศึกษาผลกระทบของการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองที่มีต่อความสำเร็จทางด้านการศึกษา บุตรในช่วงวัยมัธยมตอนปลายในกลุ่มครอบครัวที่มีระดับรายได้ปานกลางในไทย

  • กลยุทธ์ใดที่สามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้อย่างมีประสิทธิภาพในอุตสาหกรรมการขนส่งในประเทศไทย

จากตัวอย่างข้างต้น จะเห็นได้ว่าคำถามการวิจัยมีความเฉพาะเจาะจงและมีการใช้ภาษาที่ชัดเจนที่ช่วยให้ผู้วิจัยสามารถกำหนดขอบข่ายที่ต้องการศึกษาได้อย่างเจาะจง


ตัวอย่างคำถามการวิจัยที่ควรปรับปรุง:

  • ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการใช้สื่อโซเซียลมีเดียและสุขภาพจิต

  • ศึกษาผลกระทบของการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองต่อความสำเร็จทางการศึกษา

  • ศึกษากลยุทธ์ที่มีผลต่อการลดลงของการปล่อยก๊าซคาร์บอน

จากตัวอย่างด้านบน จะเห็นได้่ว่าคำถามของการวิจัยจะค่อนข้างกว้างและไม่เฉพาะเจาะจงมากพอ อีกทั้งยังไม่สามารถช่วยกำหนดขอบข่าย และกระบวนการการทำวิจัยของการศึกษาได้อย่างชัดเจน ภาษาที่ใช้ยังดูกว้างและไม่เห็นภาพชัดเจน


ตัวอย่างสมมติฐานการวิจัยที่ดี:

  • การใช้สื่อโซเชียลมีเดียมีผลในทางบวกต่อระดับอาการซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในกลุ่มวัยรุ่นตอนต้นในประเทศสหรัฐอเมริกา

  • การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองส่งผลให้นักเรียนมัธยมชาวไทยในกลุ่มที่มีรายได้น้อยมีความสำเร็จทางการศึกษามากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

  • การออกกฎจำกัดการจราจรมีผลมากกว่าการจัดเก็บภาษีคาร์บอนในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน อย่างมีนัยสำคัญในอุตสาหกรรมการขนส่งในประเทศไทย

จากตัวอย่างข้างต้นจะเห็นได้ว่าสมมติฐานมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนสำหรับการวิจัย ภาษาที่ใช้มีความ เฉพาะเจาะจงแสดงให้เห็นว่าการงานวิจัยฉบับนั้นๆ ศึกษาเกี่ยวกับอะไรและสามารถช่วยอนุมาน คำตอบของการวิจัยได้


ตัวอย่างสมมติฐานการวิจัยที่ควรปรับปรุง:

  • การใช้สื่อโซเชียลมีเดียมีความสัมพันธ์กับสุขภาพจิต

  • การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองมีผลต่อผลการเรียนของบุตร

  • การใช้ภาษีคาร์บอนมีส่วนช่วยให้ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้

จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่า สมมติฐานการวิจัยค่อนข้างกว้างและกำกวมไม่ชัดเจน ผู้วิจัยเองจะไม่ทราบว่าการวิจัยควรจะเป็นไปในทางใดและไม่สามารถอนุมานได้ว่าคำตอบของการวิจัยควรจะเป็นไปในทิศทางใด


เคล็ดลับที่ 4: ควรทำการวิจัยที่เป็นไปได้จริง


เมื่อต้องการเขียนคำถามการวิจัยหรือเขียนสมมติฐานการวิจัย สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นอันดับต้นๆ คือความเป็นไปได้จริง คำถามของการวิจัยและสมมติฐานการวิจัยควรจะเป็นไปได้ทั้งในเชิงเวลาและ ทรัพยากรต่างๆ ทั้งบุคลากรและงบประมาณ ทั้งนี้เพื่อให้ผลที่ได้จากงานวิจัยมีประสิทธิภาพและ สามารถนำผลที่ได้ไปใช้ได้จริง


เคล็ดลับที่ 5: ตอบที่สิ่งที่ยังไม่ได้ตอบ


อีกเคล็ดลับที่สำคัญมากคือ คำถามและสมมติฐานการวิจัยควรจะตอบคำถามที่ยังไม่ได้รับการตอบ ระหว่างที่คุณศึกษาและทบทวนบทวรรณกรรม คุณจะเริ่มทราบว่ามีคำถามใดบ้างที่เคยได้รับการ ศึกษาไปแล้วและอะไรที่ยังไม่ได้รับการศึกษา การทำงานวิจัยที่ยังไม่มีการศึกษามาก่อนจะมีส่วน ช่วยให้งานวิจัยของคุณสามารถสร้างคุณค่าในการนำไปใช้งานได้จริงมากยิ่งขึ้น


สุดท้ายนี้การพัฒนาคำถามการวิจัยและสมมติฐานการวิจัยนับได้ว่ามีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการทำ วิจัย การเริ่มต้นด้วยภาพใหญ่ การทบทวนบทวรรณกรรมก่อน การใช้ภาษาที่เฉพาะเจาะจงและชัดเจน การทำวิจัยในหัวข้อที่เป็นไปได้จริง และการตอบสิ่งที่ยังไม่ได้ตอบ เคล็ดลับเหล่านี้จะสามารถช่วยให้คุณเป็นผู้วิจัยมือโปรได้อย่างไม่ยากและอย่าลืมนำเคล็ดลับดีๆ เหล่านี้ไปใช้หรือปรึกษาเราเพื่อพัฒนาการวิจัยของคุณนะคะ


สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ:


Comments


bottom of page