“Data is the new oil” หรือข้อมูลคือน้ำมัน น้ำมันคือสิ่งที่มีค่าแต่จะไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ถ้าหากไม่ได้รับการกลั่นออกมาเพื่อแยกให้เป็น น้ำมัน แก๊ส พลาสติก สารเคมี หรืออื่นๆ ที่สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ทันที เช่นเดียวกันกับข้อมูลถ้าหากไม่ได้ผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีอาจนำไปใช้ประโยชน์ในการต่อยอดได้ยาก

ทุกวันนี้เราปฏิเสธไม่ได้เลยว่าข้อมูลมีความสำคัญอย่างยิ่ง สำหรับการตัดสินใจต่างๆ ในยุคที่เทคโนโลยี พัฒนาเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ผู้บริโภคเองก็มีการรับรู้ข่าวสารที่รวดเร็วยิ่งขึ้น ส่งผลให้พฤติกรรมในการบริโภคเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและตลอดเวลา นี่เป็นสาเหตุที่ทำให้แต่ละบริษัทต่างให้ความสำคัญกับนำข้อมูลที่มีอยู่เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาธุรกิจทั้งด้านสินค้าและบริการเพื่อให้ตอบโจทย์ผู้บริโภคมากขึ้นและเพื่อให้ได้เปรียบคู่แข่งมากขึ้น ดังนั้นจึงไม่แปลกที่เรามักจะเห็นบริษัทต่างๆ ให้ความ สำคัญกับการเก็บข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการซื้อสินค้าของผู้บริโภค ข้อมูลเกี่ยวกับ ลักษณะของผู้บริโภค ข้อมูลเกี่ยวกับการขายในช่องทางต่างๆ ข้อมูลเกี่ยวกับราคาของคู่แข่ง ข้อมูลเกี่ยวกับพนักงาน ข้อมูลเกี่ยวกับความพึงพอใจของผู้บริโภค ข้อมูลเกี่ยวกับการขนส่งข้อมูลเกี่ยวกับความพึงพอใจของพนักงาน หรืออาจจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับการผลิตสินค้า ข้อมูลเหล่านี้อาจจะเป็นข้อมูลที่มีอยู่แล้วหรือเป็นข้อมูลที่บริษัทเก็บขึ้นมาใหม่ก็ได้ โดยข้อมูลจะไม่สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ ถ้าหากไม่ผ่านการวิเคราะห์ให้อยู่ในรูปที่เข้าใจได้ออกมาเสียก่อน
การวิเคราะห์ข้อมูลเองก็มีหลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลออกมา เพื่อใช้ดูข้อมูลในลักษณะของภาพรวมเพื่อศึกษาว่าปัจจุบันนี้สถานการณ์ตรงหน้าเป็นอย่างไร อาทิ การหาว่ามีลูกค้าซื้อสินค้าประเภทนี้มากน้อยขนาดไหน หรือ ผลิตภัณฑ์ชนิดใดที่ขายดีที่สุดในช่วงนี้ หรือจะเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาความสัมพันธ์หรือความเชื่อมโยงของข้อมูลเพื่อตอบโจทย์ให้ลึกมากขึ้น เพื่อใช้ในการทำนายอนาคต หรือเพื่อใช้ในการทดสอบสมมติฐาน โดยการวิเคราะห์ข้อมูลแบบหลังนี้สามารถตอบโจทย์ได้หลายอย่าง โดยสามารถจำแนกเป็นหมวดหมู่ย่อยๆ ได้ดังนี้
1. การวิจัยทางการตลาด
การตลาดแบบใดที่เข้าถึงผู้บริโภคได้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
ปัจจัยใดที่ส่งผลให้ผู้บริโภคเกิดความพึงพอใจมากที่สุด
ปัจจัยใดที่ส่งผลให้ผู้บริโภคเกิดการซื้อซ้ำมากที่สุด
ผู้บริโภคซื้อสินค้ามากในช่วงที่มีการใช้โปรโมชั่นแบบใดมากที่สุด
ความแตกต่างทางปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ส่งผลให้เกิดความแตกต่างในความสนใจของสินค้า หรือไม่
การประชาสัมพันธ์แบบใดที่ส่งผลให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์มากที่สุด
ความสัมพันธ์ระหว่างงบการตลาดในแต่ละผลิตภัณฑ์และยอดขาย
ผู้บริโภคมักจะซื้อสินค้าประเภทนี้ร่วมกับสินค้าประเภทใด
2. การวิจัยทางด้านการพัฒนาทรัพยากรบุคคล
ปัจจัยใดที่ทำให้พนักงานเกิดความผูกพันต่อองค์กรมากที่สุด
ปัจจัยใดที่ทำให้พนักงานเกิดประสิทธิภาพในการทำงานมากที่สุด
3. การวิจัยทางการแพทย์
แผนการรักษาผู้ป่วยแบบใดก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการรักษามากที่สุด
ยาชนิดใดก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการรักษามากที่สุด
การจัดการอบรมให้ความรู้ผู้ป่วยในการดูแลตนเองทำให้ผู้ป่วยสามารถดูแลตัวเองได้ดีขึ้นและ มีอาการดีขึ้นจริงหรือไม่
การรับประทานอาหารมีความสัมพันธ์ต่อดัชนีมวลกายอย่างไรบ้าง
4. การวิจัยทางด้านอื่นๆ
การเรียนการสอนแบบใดทำให้นักเรียนมีประสิทธิภาพการเรียนรู้สูงที่สุด
จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่าการวิเคราะห์ข้อมูลสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจได้ในหลายๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นการสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่ง การตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้ดีขึ้น การลด ความผิดพลาดในการตัดสินใจ หรือจะเป็นการใช้ทรัพยากรของบริษัทที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งการวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านี้สามารถทำได้โดยการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการใช้โปรแกรมการวิเคราะห์ ข้อมูล SPSS หรือ Statistical Program for Social Sciences ซึ่งเป็นโปรแกรมการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ที่มีความแม่นยำและได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลาย
สำหรับท่านใดที่สนใจวิเคราะห์ข้อมูลสามารถปรึกษาทีมวิเคราะห์ข้อมูลของ Data Investigator ได้ที่ Line Official Account หรืออีเมล์ info@datainvestigatorth.com
#การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา #การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงอนุมาน #การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ #DataAnalysis #การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยSPSS
Comments